วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

หยก


หยก (Jade) คือชื่อที่ใช้เรียกหินซึ่งเป็นอัญมณีอันล้ำค่ามากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะชาวจีนถือว่าหยกเป็นเจ้าแห่งหินมีค่าทั้งมวล 5555
ในอดีตเข้าใจกันว่าหยกมีเพียงชนิดเดียว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความรู้ทางด้านเคมีมากขึ้น จึงสามารถแยกหยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
  1. เจไดต์ (Jadeite) มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นโซเดียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (NaAl(SiO3)2, Sodium aluminium silicate) มักมีสีเขียวเข้มสดกว่าเนฟไฟรต์ จัดเป็นหยกชนิดคุณภาพดี อยู่ในระบบผลึกแบบหนึ่งแกนเอียง โดยธรรมชาติมักพบเป็นก้อนเนื้อแน่นประกอบด้วยผลึกขนาดเล้กอยู่รวมกัน มีความวาวตั้งแต่แบบแก้วจนถึงแบบน้ำมัน หยกเจไดตืมีความแข็ง 6.5-7 มีสีในเนื้อพลอยเฉพาะตัว และมักไม่สม่ำเสมอ มีสีเข้มและจางของแต่ละผลึกรวมกันอยู่ โดยเฉพาะในพลอยก้อนจะมีลักษณะเป็นหย่อมสี พบว่าเกิดอยู่ในหินเซอร์เพนทีน ที่ได้จากการแปรสภาพของหินอัคนีชนิดที่มีแร่ดอลีวีนอยู่มาก หรือมีโซเดียมอยู่มาก
  2. เนฟไฟรต์ (Nephrite) มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นแคลเซียมแมกนีเซียมซิลิเกต (Calcium magnesium silicate) อยู่ในระบบผลึกหนึ่งแก่นเอียง โดยธรรมชาติมักพบเกิดเป็นผลึกกลุ่มที่มีขนาดเล้กรุปเส้นใยเดียวกัน หยกเนฟไฟรต์มีความแข็ง 6-6.5 มีความวาวแบบแก้วถึงน้ำมัน สีมีความเฉพาะตัวเหมือนหยกเจไดส์ แต่มีสีเข้มไม่เท่า และมีสีมืดมากกว่า พบว่าเกิดจากหินเดิมที่มีธาตุแมกนีเซียมแปรสภาพด้วยความร้อน

 การปรับปรุงคุณภาพหยกเจไดต์

  1. หยกที่ไม่ได้ผ่านการปรับปรุงคุณภาพใดๆ เรียกว่า A jade หรือ untreated jadeite
  2. หยกเจไดต์ที่สีไม่สวยและค่อนข้างโปร่งแสง อาจถูกนำมากัด (bleach) เพื่อเอาหินแร่สีน้ำตาลหรือดำออก แต่จะทำให้โครงสร้างของหยกกร่อนลง จึงต้องอัดด้วยเรซิน (resin) หรือแวกซ์ (wax) ลงไป เรียกหยกที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้ว่า B jade (จากคำว่า 'bleached')
  3. หยกเจไดต์ที่มีสีซีดอาจนำมาย้อมให้สีเข้มขึ้น เรียกหยกที่ผ่านกระบวนการนี้ว่า C jade ซึ่งสีที่ย้อมเหล่านี้สามารถซีดลงได้
  4. หยกเจไดต์ที่ผ่านทั้งกระบวนการอัดด้วยเรซินและการย้อมสี เรียกว่า B+C jade

แซฟไฟร์ และ อะเมทิสต์



แซฟไฟร์ (อังกฤษ: Sapphire) เป็นพลอยตระกูลคอรันดัม มีหลายสี แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงเฉพาะที่มีสีน้ำเงิน ในประเทศไทย เดิมเรียกว่า นิลกาฬ (นิลก็ยังหมายถึงพลอยอีกชนิดหนึ่ง) แต่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า ไพลิน ตามชื่อของแหล่งกำเนิดจากเหมืองพลอย ในจังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา ที่ในช่วงหนึ่งมีการนำเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก [2]
แซฟไฟร์จัดเป็นแร่ในประเภท (Species) คอรันดัม (Corundum) เช่นเดียวกับทับทิม (Ruby) ซึ่งพลอยคอรันดัมนี้เป็นพลอยที่มีความแข็งรองลงมาจากเพชร จึงทำให้แซฟไฟร์ เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำไปทำเครื่องประดับ
ชาวเปอร์เซียโบราณเชื่อกันว่าแซฟไฟร์ คือ "หินที่มาจากฟ้า" เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าโลก ตั้งอยู่บน แซฟไฟร์ ขนาดมหึมา จึงทำให้สะท้อนแสงแดด ออกไปสู่ท้องฟ้ามีสีน้ำเงิน ตามตำนานกล่าวว่า แซฟไฟร์เป็นพลอยของกษัตริย์ที่ใช้สวมใส่เพื่อป้องกันภยันตราย ทำให้เชื่อกันว่าผู้ที่สวมใสแซฟไฟร์จะมีชีวิตที่สดใส มีพลังในการดำรงชีวิต และแซฟไฟร์นี้สามารถปกป้องอันตรายแก่ผู้ที่สวมใส่ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังถือเอาแซฟไฟร์นี้เป็นสัญลักษณ์ของความจริงใจ และมั่นคงอีกด้วย
ปัจจุบันหากพูดถึงแซฟไฟร์ คำเดียวจะหมายถึง Blue Sapphire หรือ ไพลิน มาจากภาษาเปอร์เชีย "Saffir" หรือจากภาษากรีก "Sappheiros" แปลว่า สีน้ำเงิน หรือจากภาษาสันสกฤต "ศนิปฺริย" (ศนิ = พระเสาร์, ปฺริย = ผู้เป็นที่รัก) แปลว่าของมีค่าของเทพแซทเทิร์น (ในเทพปกรณัมโรมัน) [3] [4] อย่างไรก็ตาม ในภาษาสันสกฤตยังมีคำเรียกแซฟไฟร์สีน้ำเงินว่า "อินฺทฺรนีล" หมายถึง "สีน้ำเงินเหมือนพระอินทร์"
ในสมัยโบราณ จะเรียกพลอยคอรันดัมที่มีสีน้ำเงินว่าแซฟไฟร์ แต่ในความเป็นจริงพลอยคอรันดัมมีได้หลากสี เช่น สีเหลือง, ชมพู, ม่วง, เขียว เป็นต้น ดังนั้นหากเราต้องการจะเรียกพลอยคอรันดัมชนิดอื่นที่ไม่ใช่ไพลิน (Blue Sapphire) เราจะต้องระบุสีด้วย เช่น Yellow Sapphire (บุษราคัม), Green Sapphire (เขียวส่อง), Pink Sapphire (แซฟไฟร์ชมพู) เป็นต้น
ในปัจจุบันแซฟไฟร์ส่วนใหญ่มักผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนหรือที่เราเรียกกันว่าการเผา แต่ก็ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปในตลาดพลอย เพราะการเผาจะทำให้สีดีของแซฟไฟร์ดีขึ้นและอยู่คงทนถาวร
แซฟไฟร์เป็นพลอยประจำเดือนเกิดของผู้ที่เกิดเดือนกันยายน และแซฟไฟร์ยังถือเป็นสัญญลักษณ์ที่คู่รักนิยมมอบเป็นของขวัญให้แก่กันในโอกาสครบรอบการแต่งงานในปีที่ 5, 15, 23 และ ปีที่ 45 แซฟไฟร์ได้รับความนิยมในหมู่คนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

อเมทิสต์ (Amethyst)  อัญมณีสีม่วง เป็นพลอยในตระกูลควอทส์ ถูกกำหนดให้เป็นอัญมณีสำหรับผู้ที่เกิดเดือนกุมภาพันธ์ คำว่า "อเมทิสต์" เป็นคำมาจากภาษากรีก ว่า Amathystos แปลว่า "ไม่มึนเมา"  บางคนเชื่อว่าอเมทิสต์จะนำโชคลาภมาสู่ผู้ครอบครอง ทำให้ผู้สวมใส่เกิดความมุ่งมั่น สามารถป้องกันเวทมนตร์ รวมทั้งยังรักษาโรคคิดถึงบ้านได้ บ้างก็เชื่อว่าอเมทิสต์ทำให้ผู้สวมใส่มีสมองปลอดโปร่ง มีไหวพริบปฏิภาณในการสู้รบ ทำให้มีความเป็นเลิศในทางการทำการค้าธุรกิจ

    ในหมู่ชาวยิว ถือว่าสีม่วงของอเมทิสต์ เป็นสีสำหรับกษัตริย์ ดังนั้นทำให้อเมทิสต์ อัญมณีสีม่วงกลายเป็นเครื่องประดับพระมหากษัตริย์ และยังได้รับความนิยมในกลุ่มทางศาสนาเพราะเชื่อว่าช่วยดลบันดาลให้เกิดความเที่ยงธรรมแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่

     อเมทิสต์ ตามธรรมชาติมีตั้งแต่สีม่วงอ่อนจนเกือบไร้สีจนถึงสีม่วงเข้ม เนื้อพลอยมีตั้งแต่ใสสะอาดจนถึงขุ่นทึบ อเมทิสต์ที่ถือว่ามีคุณภาพสวยต้องมีสีสดเข้ม เสมอทั้งเม็ด เนื้อใสสะอาดมองไม่เห็นตำหนิด้วยตาเปล่า เจียระไนรูปร่างสมส่วนมีประกายดี ซึ่งอเมทิสต์ คุณภาพดี สีเข้ม สวยสด เนื้อใสสะอาด ขนาดใหญ่หาได้ไม่ยากและยังมีปริมาณมาก

    แหล่งกำเนิดของอเมทิสต์ ที่มีคุณภาพสูงคือ บราซิล แหล่งอื่นเช่น อินเดีย นามิเบีย ศรีลังกา

    การพิจารณาเลือกซื้ออเมทิสต์  ปัจจัยอันดับแรกคือ คุณภาพสี ที่ดีที่สุดจะต้องมีสีม่วงเข้มสด คุณภาพรองลงมาคือ สีม่วงปานกลาง ม่วงอ่อน และสุดท้ายคือ สีม่วงดำ และพิจารณาความสม่ำเสมอของสี ว่ามีสีทั่วทั้งเม็ดหรือไม่ วิธีการดูคือ ให้คีบพลอยคว่ำลงบนกระดาษขาวก็จะสามารถมองเห็นได้ว่า พลอยเม็ดนี้มีสีเป็นหย่อมๆหรือมีสีเสมอทั่วทั้งเม็ด
     ปัจจัยต่อมา คุณภาพความสะอาด อเมทิสต์ที่ม่ีคุณภาพเนื้อดีมากจะไม่พบเห็นตำหนิใดๆเลย แม้จะมองด้วยแว่นขยาย 10 เท่า อเมทิสต์ที่เนื้อดูขุ่นตันถือว่าคุณภาพต่ำสุด
     ปัจจัยความสมส่วนของรูปทรง ความประณีตในการเจียรเหลี่ยมมุมและการชักเงา ตลอดจนประกายแสง ซึ่งควรจะมีมากกว่า 50% ขึ้นไป

      การดูแลรักษา  อเมทิสต์ เป็นอัญมณีที่มีความแข็งแรง แต่สามารถเกิดรอยขีดข่วนได้ จึงควรระมัดระวังในการทำความสะอาด ในการสวมใส่  ให้ทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่น หลีกเลี่ยงสารเคมี และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว เก็บรักษาไว้ในภาชนะบุด้วยผ้านุ่ม
บทความ
- บุศราคัม (yellow Sapphire) [7 พฤศจิกายน 2553 13:40 น.]
- ทัวร์มาลีน(Tourmaline) อัญมณีประจำเดือนตุลาคม [7 พฤศจิกายน 2553 13:40 น.]
- ไพลิน(Blue Sapphire) อัญมณีประจำเดือนเกิดกันยายน [7 พฤศจิกายน 2553 13:40 น.]
- เพอริดอท(Peridot) อัญมณีสำหรับเดือนเกิดราศีสิงห์ [7 พฤศจิกายน 2553 13:40 น.]
- ทับทิม (Ruby) อัญมณีสำหรับเดือนเกิดราศีกรกฎ [7 พฤศจิกายน 2553 13:40 น.]
- เจ้าสามสี (Alexandrite) อัญมณีประจำเดือนเกิดราศีเมถุน [7 พฤศจิกายน 2553 13:40 น.]
- มรกต(Emerald) อัญมณีประจำเดือนเกิดเดือนพฤษภาคม [7 พฤศจิกายน 2553 13:40 น.]
- เพชร (Diamond) อัญมณีประจำเดือนเกิดราศีเมษ [7 พฤศจิกายน 2553 13:40 น.]
- อความารีน (Aquamarine)อัญมณีประจำเดือนเกิดราศีมีน [7 พฤศจิกายน 2553 13:40 น.]
- อเมทิสต์(Amethyst) อัญมณีประจำเดือนเกิดราศีกุมภ์ [7 พฤศจิกายน 2553 13:40 น.]
ดูทั้งหมด

มรกต

มรกต (อังกฤษ: Emerald, สูตรเคมี: Be3Al2(SiO3)6) เป็นแร่รัตนชาติหรืออัญมณี ที่มีสีเขียว โดยเกิดจากการผสมกันระหว่างโครเมี่ยมกับเบริล เป็นแร่เบริลที่มีสีเขียวซึ่งแร่นี้มีได้หลายสี ถ้าฟ้าเรียกอความารีน(aquarmarine)สีเหลืองเรียกโกลเด้นเบริล สีแดงเรียก โรสเบริล และอื่นๆคุณภาพของมรกตอยู่ที่สีหากมีสีเขียวทั่วทั้งเม็ดก็จัดว่าคุณภาพสูง ส่วนตำหนินั้นมรกตธรรมชาติทุกชิ้นจะต้องมีทั้งสิ้น ลักษณะเป็นเส้น ริ้วสีขาว จุดสีดำ สีสนิม ฝ้าขาวขุ่นตามธรรมชาติ รอยริ้วที่ดุคล้ายรากผักชีเรียกว่า Jardin หรือสวนแห่งมรกต มรกตคุณภาพดีหรือไม่ดีก็มีทั้งสิ้น แต่พิจารณาปริมาณ และการวางตัวของตำหนิ (ต้องเลือกที่ไม่มีตำหนิต่อเนื่องราวมาจนถึงหน้าพลอย หรือจากขอบหนึงไปถึงขอบหนึ่ง เพราะจะมีผลต่อการนำไปใช้ อาจไม่คงทน )ซึ่งอาจจะมีผลกับการส่องประกายแสงออกมาจากมรกต หากมีมากไปพลอยจะดูทึบแสง ไม่มีประกายซึ่งมักได้รับการเจียระไนแบบหลังเบี้ย หรือหลังเต่า หากทึบจนตันแสงไม่ส่องผ่านเลยและมีสีเขียวซีดจะจัดเป็นมรกตคุณภาพต่ำที่สุด มรกตมีการทำเลียนแบบ สังเคราะและปรับปรุงคุณภาพ(อาบนำมันบ้าง ชุบสี ซ่านสี เคลื่อบสี แช่สารเคมีเฉพาะ) ดังนั้นจึงควรตรวจสอบก่อนการซื้อเพราะจัดเป็นพลอยที่มีราคาสูงมาก(ถ้าคุรภาพดีมากและขนาดใหญ่ด้วยแล้ว) บางกรณีนั้นแยกแทบไม่ออกด้วยตาเปล่าต้องส่วห้องปฏิบัติการที่น่าเชื่อถือช่วยตรวจสอบ มรกตนั้นมีหลายเฉดสี แหล่งที่สำคัญมากและโด่งดังไปทั่วโลกคือ มรกตจากโคลัมเบีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่างามที่สุดในโลกราคามักสูงกว่าแหล่งอื่นๆและถูกกล่าวอ้างถึงบ่อยๆ มีเหมืองสำคัญซึ่งผลิตมรกตสีต่างกันคือ เหมืองชิวอร์(Chivor)มีมรกตสีเขียวสดอมเหลือง และเหมืองมูโซ(Muzo)ให้มรกตสีเขียวอมฟ้า คล้ายสีของน้ำทะเล การดูแลรักษาไม่ควรใส่ทำงานหนัก เพราะทนแรงกระแทกได้ไม่ดีนักมีความเปราะ หลีกเลี่ยงสารเคมี น้ำหอมและสเปร์ยแต่งผม